การเลี้ยงปลาแบบเศรษฐกิจพอเพียง


     การเลี้ยงปลาแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ทำให้สามารถมีปลาไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมในครัวเรือนได้อีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์

1) ผ้าพลาสติก 1 ผืน 
2) ไม้ไผ่ตัดตามขนาดบ่อ 6 - 7 ท่อน 
3) ผ้าตาข่ายกันแดด 1 ผืน 
4) พันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยง เช่น ปลาดุก ปลานิล

ขั้นตอนการทำ

1) ขุดบ่อขนาด 2 x 4 เมตร ลึก 1 เมตร 
2) ใช้ผ้าพลาสติกปูบ่อให้เต็ม เพื่อป้องกันน้ำซึมออก 
3) นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ทำขอบบ่อและเสาเพื่อทำที่กันแดด 
4) เติมน้ำลงไปให้เติมบ่อ 
5) เตรียมอาหารโดยวิธีการปรุงน้ำโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการสร้างแหล่งอาหารให้ลูกปลาวัยอ่อนที่นำมาปล่อย 
6) ปล่อยปลา บ่อละ 300 - 400 ตัว



ประโยชน์ 
1) ใช้ต้นทุนต่ำประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง 
2) สามารถส่งขายเป็นรายได้เสริมและสามารถนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนได้

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ในบ่อปูผ้าพลาสติก

     ปลาดุกบิ๊กอุย หรือชาวบ้านเรียกว่า ประดุกอุยเทศ เป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลา ดุกอุย เพศเมียกับปลาดุกเทศเพศผู้ และเป็นที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราเจริญเติบโตดี ทนทานต่อโรค และสภาพแวดล้อมดี มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายเพราะรสชาติดี ราคาถูก 
การเลี้ยงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 
     1.) การเลี้ยงในบ่อดิน 
     2.) การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ (แบบครัวเรือน) 
     3.) การเลี้ยงในบ่อปูผ้าพลาสติก (แบบครัวเรือน)

     ขั้นตอนการเลี้ยงในบ่อปูผ้าพลาสติก 

1) การเตรียมบ่อเลี้ยง 
     - เตรียมพื้นที่เพื่อดำเนินการเลี้ยงโดยการขุดบ่อดินหรือยกพื้นด้วย กระสอบทรายหรือกระสอบปุ๋ย ความกว้างยาวตามที่กำหนด แล้วปูด้วยผ้าพลาสติก หากฉีกขาดหรือ มีรอยรั่ว ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย ผ้าพลาสติกควรแช่น้ำอย่างน้อย 2 - 3 วัน และล้างทำความ สะอาดด้วยฟองน้ำหรือวัสดุ ที่ไม่ทำให้ผ้าพลาสติกชำรุดเสียหายและเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ
     - บริเวณบ่อควรอยู่ในพื้นที่ ที่ดูแลได้ง่าย เช่น ในบริเวณบ้านเรือน หรือ ที่มีร่มเงา และเป็นบริเวณที่สามารถปฏิบัติงานได้ง่าย เช่น การถ่ายน้ำ เพิ่มน้ำ หรือทำความสะอาด และไม่มีศัตรูรบกวน 

2) น้ำที่ใช้ในการเลี้ยง  
     ประเภทของน้ำ 
     - น้ำประปา ควรมีการพักอย่างน้อย 1 - 2 วัน เพื่อลดสารเคมี เช่นคลอรีน  
     - น้ำบาดาล ควรมีการพักเช่นเดียวกัน แบบน้ำประปา
     - น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น ไม่อยู่ในแหล่งที่ใช้ สารเคมีหรือบริเวณที่มีน้ำเสีย และไม่มีศัตรูที่จะทำความเสียหายต่อสัตว์น้ำ 


3) การเตรียมสภาพบ่อ 
      - ควรสร้างห่วงโซ่อาหารเพิ่มเติมโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ฟาง ปุ๋ยหมัก หรือ หญ้าแห้งมัดเป็นก้อน และแช่น้ไไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ก่อนปล่อยปลาเพื่อสร้างไรธรรมชาติ 
      - ตรวจสอบไม่ให้มีศัตรูภายในบ่อ และสภาพความเหมาะสมของน้ำ

4) การปล่อยปลา
     - ควรตรวจดูสภาพของปลาให้อยู่ในลักษณะที่แข็งแรง เช่น ลักษณะสี ขนาดตัว เท่าๆกัน ไม่แตกต่างกันมาก และไม่มีแผลภายนอก
     - ก่อนปล่อยควรมีการปรับสภาพอุณหภูมิในถุงและบ่อให้เท่ากันไม่ควรเกิน 1 - 2 องศา และแช่ถุงปลาไว้ประมาณ 15 - 20 นาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยปลา
     - เวลาปล่อยควรปล่อยในเวลา เช้าหรือเย็น หรือในสภาพภูมิอากาศที่ไม่ร้อนจัด การปล่อยในวันแรกไม่ควรให้อาหาร ควรให้ในวันรุ่งขึ้น 

⇝ อัตราการปล่อยที่เหมาะสม ⇜
     - ควรปล่อยในอัตรา 40 - 100 ตัวต่อตารางเมตร หรือตามพื้นที่ของปริมาตรน้ำ เพื่อง่ายต่อการดูแลและไม่หนาแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคได้ง่ายและโตช้า 

5) การป้องกันโรคและลดความเครียดของปลาก่อนปล่อย
     - ใช้เกลือแกงประมาณ 300 - 500 กรัม/บ่อ
     - ใช้ฟอร์มมาลีนประมาณ 20 - 50 ซีซี/บ่อ
     - ใช้วิตามินผสมอาหารประมาณ 5 กรัม/กก. (วิตามินซี) 

6) การถ่ายน้ำและดูแล
     ระยะเริ่มต้นในการเลี้ยง ระดับความลึกของน้ำในบ่อประมาณ 30 ซม. เมื่อเลี้ยง ปลาโตขึ้นควรเพิ่มน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 ซม. จนในเดือนที่ 2-3 ควรมีการถ่ายน้ำ ออกบางส่วน 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือถ่ายน้ำออกประมาณ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และดูดหรือตักเศษอาหารและสิ่งปฏิกูลออกทุกครั้ง และควรใส่เกลือทุกครั้งที่ถ่ายน้ำ แต่ในการเลี้ยงแบบน้ำอาจมีการ ระเหยของน้ำควรมีการเติมน้ำหรือค่อยๆ เติมตามความจำเป็น

7) การให้อาหาร 
     เมื่อปล่อยปลาควรให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ควรให้ทั่ว ๆ บ่อและใช้ระยะเวลาการให้ 10 - 15 นาที ประมาณ 1 - 2 อาทิตย์ ก็สามารถฝึกการกินอาหารของปลาได้ ควรตรวจการกินอาหารให้แน่นอนทุกครั้ง และเอาอาหารเก่าออกทุกครั้งที่ให้อาหารใหม่ อาจมีการลดต้นทุนอาหารด้วยการให้อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้เช่น ปลวก แมลงต่างๆ มะละกอ กล้วย ฝักทอง ฯลฯ 

8) การเกิดโรคในขณะการเลี้ยง 
     มักเกิดจากปัญหาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี เนื่องจากการให้อาหารมากเกินไป อาหารเหลือเน่าเสียทำให้คุณภาพน้ำไม่ดี เราสามารถป้องกันได้โดย 
     - เมื่อปลาไม่กินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกชอบกินอาหารใหม่  
     - ควรให้อาหารเป็นเวลา และไม่มากจนเกินไป 
     - อาหารต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่เป็นอาหารค้างเก่าและหมดอายุ 

9) วิธีป้องกันโรคในขณะที่เลี้ยง 
     - เตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสม ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง  
     - หมั่นตรวจอาการของปลาและดูคุณภาพน้ำ กำจัดสิ่งปฏิกูลออกเป็นประจำ 
     - ใช้เกลือหรือปูนขาว ปรับสภาพทุกครั้งที่ถ่ายน้ำ




การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 

1.) การปูพลาสติก 
   - พลาสติกสีขาว (บาง) 
   - พลาสติกสีดำ (หนา) 
   - ดินรองก้นหลุม
2.) การใส่น้ำ
   - น้ำประปา (ไม่มีคลอรีน) 
   - น้ำคลอง 
   - น้ำบ่อบาดาล 
   - ใส่น้ำให้เต็มบ่อเพื่อรักษาคุณภาพพลาสติก 
   - หาผักตบชวามาปลูกในบ่อ เป็นที่พักปลา
3.) การบำบัดน้ำเสีย 
   - ใส่น้ำพ่อ ครึ่งขวดน้ำ พร้อมกากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ 
   - เติมน้ำหมักชีวภาพก่อนปล่อยปลาประมาร 5 วัน 
   - ควรเติมน้ำหมักชีวภาพทุกอาทิตย์ 
   - ถ่ายน้ำต่อเมื่อ คนข้างบ้านบ่น
4.) การให้อาหารปลา 
   - ปลากินอาหารดีในเวลากลางคืน 
   - กินอาหารวันละ 1 ครั้ง ตะวันตกดิน 
   - ให้อาหารให้พอเพียง แต่ไม่เหลือ 
   - ทำอาหารให้กินเอง
5.) การบริโภคปลาดุกให้อร่อย 
   - วงบ่อใส่น้ำสะอาดไว้ 
   - หยุดให้อาหาร 2 - 3 วัน 
   - กินไม่หมด ใส่บ่อเลี้ยงตามเดิม

     
😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃


การเลี้ยงปลาบ่อดิน

วัสดุอุปกรณ์
1) บ่อดินขนาด 10 x 20 เมตร 
2) พันธุ์ปลากินพืช (ปลาดุก , ปลาตะเพียน) 
3) อาหารปลา (พืชผัก, รำ) 

วิธีทำ
1) ขุดบ่อดินขนาด 10 x 20 เมตร ลึก 2 เมตร 
2) พักน้ำ 1 สัปดาห์ 
3) ปล่อยพันธุ์ปลา จำนวน 2,000 ตัว/บ่อ 
4) ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง (เช้า, เย็น) 
5) จับปลาขาย 6 - 8 เดือน 

วิธีทำอาหารปลา 
นำพืชผัก 3กิโลกรัม ผสมกับรำ 1กิโลกรัม เป็นอาหารปลาต่อมื้อ


😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃


การเลี้ยงปลานิลเพื่อบริโภคในครัวเรือน

     การเตรียมบ่อ

     ควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 400 ตร.ม. ขึ้นไป ระดับของน้ำในบ่อ ควรลึกประมาณ 1 เมตรตลอดปี ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต และใช้สำหรับเพาะพันธุ์ปลาพร้อมกันไปด้วย ถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนจนแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โต โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ ดังนั้น จึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆ สำหรับให้แม่ปลาวางไข่ ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำ เข้า - ออก เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาอีกด้วย แต่ถ้าบ่อไม่สามารถทำ ท่อระบายน้ำได้ ก็จำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง และต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่ เกิดน้ำเสีย 

     การให้อาหาร

     ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของ แมลง และสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในบ่อ ตลอดจนสาหร่ายและแหน ถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหาร สมทบ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว แหน เป็ด และปลาป่น เป็นต้น การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไป ควรให้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของปลาเท่านั้น ส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลาจะกินไม่หมด เสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นอันตรายแก่ปลาได้




เทคนิคการเตรียมบ่อดินเลี้ยงปลานิลไร้กลิ่นโคลนเพิ่มคุณภาพ

     ปัจจุบันนี้การเลี้ยงปลามีหลากหลายวิธี ทั้งการเลี้ยงตามธรรมชาติซึ่งมีการดูแลรักษาที่ง่ายแต่ให้ผลผลิตที่น้อย หรือจะเป็นการเลี้ยงในบ่อดิน มีการดูแลรักษายากแต่ให้ผลผลิตที่มาก เพราะน้ำในบ่อจะมีเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคระบาดและมีกลิ่นโคลน เวลาซื้อหรือรับประทานอาจจะไม่ชอบสักเท่าไหร่



     การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินนั้นมักสร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก คุณพรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางหัก 24 หมู่ 2 ต.บางหัก อ.พานทอง จ.ชลบุรี ได้แนะเทคนิคการเตรียมบ่อเลี้ยงปลานิลไร้กลิ่นโคลน คือให้เกษตรกรตากบ่อ 10-15 วันก่อน จึงทำการปล่อยน้ำเข้าบ่อ แล้วเติมน้ำอามิ (น้ำเหลือจากการทำผงชูรส) เพื่อเป็นการสร้างไรแดงให้เป็นอาหารตามธรรมชาติของปลานิล ในปริมาณ 50 ลิตรต่อไร่ จากนั้นควรเปิดเครื่องตีน้ำและให้อากาศด้วย ไม่อย่างนั้นน้ำในบ่ออาจเสียได้ เพียงเท่านี้ปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดินก็จะไม่มีกลิ่นโคลนแถมยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีเพราะได้อาหารจากธรรมชาตินอกเหนือจากอาหารหลัก และยังจำหน่ายได้ราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย 

เรียบเรียงโดย : ปฐวินท์ บำรุงรักษ์ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
: พรชัย บัวประดิษฐ์. สัมภาษณ์, 6 มิถุนายน 2557.
😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

ศูนย์ฯ ภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร 

เลี้ยงปลานิลแดง กับ เป็ดบาบาลี ลดต้นทุนเพิ่มรายได้



     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร โดยส่วนงานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง ได้ทำการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อให้เกษตรกรได้มีทางเลือกอีกทางหนึ่งในการเลี้ยงสัตว์น้ำ

     ที่จะทำให้ได้ผลผลิตอย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำน้อย และเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน

     คือการเลี้ยง “ปลานิลแดง” ร่วมกับ “เป็ดบาบาลี” ลูกผสมในบ่อครัวเรือน เป็นการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลผลิตจากเป็ดและปลาเพิ่มขึ้นอันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองได้
ลดความเสี่ยงการขาดทุนจากการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว

     ส่วนปลานิลแดงนั้นเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตได้ดี ทนต่อโรค และให้ผลผลิตสูง ทั้งในการเลี้ยงแบบผสมผสาน และการเลี้ยงแบบอื่น ๆ



     โดยสร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา สามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลาได้โดยตรง เป็ดก็ได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว และต้านทานโรคได้ดีขึ้น ทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน

     ผลจากการศึกษาและทดลองพบว่า การเลี้ยงปลานิลแดงร่วมกับเป็ดบาบาลีลูกผสมเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคอีสาน ใช้เวลา 8 เดือนสามารถเลี้ยงเป็ด ได้ถึง 2 รุ่น และเลี้ยงปลานิลแดงได้ 1 รุ่น

     ส่วนบ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 72 ตารางเมตร มีคอกขนาด 8 ตารางเมตร และมีทางเดินให้เป็ดลงมาเล่นน้ำเพื่อออกกำลังกายด้วย ก่อนจะลงสัตว์เลี้ยงต้องมีการเตรียมบ่อ และทำความสะอาดคอก ตัดหญ้าที่ก้นบ่อ ลงปูนขาวในบ่อเพื่อปรับสภาพดินในอัตราประมาณ 1 กิโลกรัม สาดให้ทั่วบ่อ

     จากนั้นลงลูกเป็ดขนาดอายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 25 ตัวต่อรุ่น พร้อมลงลูกปลานิลแดงขนาด 3-5 เซนติเมตรจำนวน 250 ตัวต่อการเลี้ยงเป็ด 2 รุ่นการให้อาหารจะให้เฉพาะในส่วนการเลี้ยงเป็ดเท่านั้น เพราะปลาจะรับเศษอาหารจากเป็ด และยังมีแพลงก์ตอนที่เกิดจากของเสียที่เป็ดปล่อยออกมาอีกด้วย เนื่องจากเป็นปลาในกลุ่มปลากินพืช จึงทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในการเลี้ยงลักษณะนี้

     เมื่อเป็ดอายุครบ 3 เดือนครึ่งถึง 4 เดือน จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม ก็นำออกจำหน่ายได้ และเลี้ยงเป็ดรุ่นใหม่ต่อเนื่องได้เลย จนถึงระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน จึงทำการจำหน่ายเป็ด และเก็บผลผลิตจากปลานิลแดงได้


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Pseudotumor Oculi : อาการตาอักเสบ

ด้วงสาคู